วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเตรียมความพร้องของประเทศไทยสู้การเป็นประชาคมอาเซียน

      


      อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) โดย.๒ ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง(กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กระทรวง) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (กระทรวงการพัฒนา) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนงาน (Blueprint)สำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา ซึ่งผู้นำอาเซียนได้รับรองเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี ๒๕๕๘ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก และผู้นำอาเซียนได้รับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียนในการประชุมสุดยอครั้งที่ ๑๗ ณ กรุงฮานอย ซึ่งระบุความเชื่อมโยงใน ๓ รูปแบบ ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านกายภาพ อาทิ การพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคมความเชื่อมโยงด้านสถาบัน อาทิ การทำให้กฎระเบียบด้านการข้ามแดนต่างๆ มีความสอดคล้องกัน
ที่มา:http://www.m-culture.go.th/


ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน

    


      หลังจากที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลีประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2546 ได้รับรองวิสัยทัศน์อาเซียน 2020( Asean Visio n 2020) เพื่อมุ่งหน้าพัฒนาอาเซียนไปสู่ประชาคมอาเซียน (Asean Community) ให้เป็นผลสำเร็จในปี 2563 (ค.ศ. 2020) โดยกำหนดเป้าหมายว่าอาเซียนจะต้องเป็น 1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัตร 3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก 4)ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร และเห็นชอบให้มีการร่างกฎบัตรอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นธรรมนูญในการบริหารปกครองกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ผ่าน3 เสาหลักคือ 1) ด้านการเมืองให้จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ( Asean Political and Security Community- APSC) 2) ด้านเศรษฐกิจให้มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา:http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=category&id=144&Itemid=7

ประวัติความเป็นมาประชาคมอาเซียน

ประวัติความเป็นมาประชาคมอาเซียน



     
     เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

ที่มา:http://www.pmvc.ac.th/asean/History.html


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำทักทายของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ

คำทักทายของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ

1.ประเทศไทย 
 คำทักทาย – สวัสดี
2.ประเทศบรูไน
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการาบรูไนดารุสซาลาม
คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง  
\
3.ประเทศกัมพูชา หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “เขมร”
   คำทักทาย – ซัวสเด
4.ประเทศอินโดนีเซีย
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย 
คำทักทาย – ซาลามัต เซียง
5.ลาว เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเราที่สุด
ชื่อภาษาท้องถิ่น – สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
คำทักทาย – สะบายดี 

6.มาเลเซีย ทางใต้ของเรา เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิม ชุดประจำชาติก็จะคล้ายๆชุดมุสลิมครับ
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต ดาตัง 
7.พม่า เพื่อนบ้านทีน่ารักของเราอีกประเทศ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
คำทักทาย – มิงกาลาบา
8.ฟิลิปปินส์ เกาะทางตะวันออกของอาเซียน แต่วัฒนธรรมและศาสนาค่อนข้างต่างกับในเอเชีย จนเคยมีนักเดินเรือชาวอังกฤษตั้งคำขวัญว่า
“ประเทศฟิลิปินส์เป็นส่วนนึงของละตินอเมริกาที่โดนคลื่นพัดมาทางเอเชีย”
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
คำทักทาย – กูมุสตา
\
9.สิงคโปร์ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน – ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
คำทักทาย – หนีห่าว
10.ประเทศเวียดนาม
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
คำทักทาย – ซินจ่าว

ที่มา : https://muaypattaraporn.wordpress.com/

ธงชาติอาเซียน

ธงชาติอาเซียน
       มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

     สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
     สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
     สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
     สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/75319

กฎบัตรอาเซียน

   

          กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

       ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

ที่มา : http://www.thai-aec.com/