วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาหารประจำชาติ

ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
                                                                             
         ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่ คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา 

ที่มา: http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_food.htm

การแต่งกายของลาว

การแต่งกายของลาว


          ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

ที่มา: https://suwannasabeloved.wordpress.com/

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การแต่งกายของบรูไน

การแต่งกายของบรูไน


          สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

ที่มา: https://suwannasabeloved.wordpress.com/












ความร่วมมือกันทางการเมือง

   

การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ

1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีพัฒนาการไปด้วยกัน โดยเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่ AEC ซึ่งก็คือด้านเศรษฐกิจหรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” คงเป็นเพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดูจะจับต้องได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ อีกทั้งในการขับเคลื่อนส่วนใหญ่แล้วที่มักจะก้าวไปเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ก็คือภาคธุรกิจ ดังนั้นคนอาจจะรับรู้เรื่อง AEC มากกว่ามิติความร่วมมืออื่นๆ ของอาเซียน


ที่มา:www.thai-aec.com/418

เดิมกำหนดเป้าหมายของอาเซียน


     


      เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558 
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน 
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วยง

ที่มา:http://flash-mini.com/asian

การเตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



   
    เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ ด้วย “รอบรู้เรื่องอาเซียน” ที่จะพาผู้อ่านเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ประชาคมอาเซียน” ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สมบูรณ์ด้วยเนื้อหาสาระที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา และพัฒนาการในแง่มุมต่างๆ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภาษา และการเมือง ของกลุ่มประเทศสมาชิก แนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างประชาคมอาเซียน และผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากความร่วมมือครั้งนี้ รวมถึงข้อมูลที่อื่นๆ ที่ควรต้องรู้ พร้อมด้วยแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อทบทวนความรู้ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

ที่มา:https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=26144

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเตรียมความพร้องของประเทศไทยสู้การเป็นประชาคมอาเซียน

      


      อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) โดย.๒ ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง(กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กระทรวง) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (กระทรวงการพัฒนา) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนงาน (Blueprint)สำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา ซึ่งผู้นำอาเซียนได้รับรองเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี ๒๕๕๘ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก และผู้นำอาเซียนได้รับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียนในการประชุมสุดยอครั้งที่ ๑๗ ณ กรุงฮานอย ซึ่งระบุความเชื่อมโยงใน ๓ รูปแบบ ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านกายภาพ อาทิ การพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคมความเชื่อมโยงด้านสถาบัน อาทิ การทำให้กฎระเบียบด้านการข้ามแดนต่างๆ มีความสอดคล้องกัน
ที่มา:http://www.m-culture.go.th/