วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาหารประจำชาติ

ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
                                                                             
         ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่ คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา 

ที่มา: http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_food.htm

การแต่งกายของลาว

การแต่งกายของลาว


          ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

ที่มา: https://suwannasabeloved.wordpress.com/

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การแต่งกายของบรูไน

การแต่งกายของบรูไน


          สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

ที่มา: https://suwannasabeloved.wordpress.com/












ความร่วมมือกันทางการเมือง

   

การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ

1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีพัฒนาการไปด้วยกัน โดยเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่ AEC ซึ่งก็คือด้านเศรษฐกิจหรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” คงเป็นเพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดูจะจับต้องได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ อีกทั้งในการขับเคลื่อนส่วนใหญ่แล้วที่มักจะก้าวไปเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ก็คือภาคธุรกิจ ดังนั้นคนอาจจะรับรู้เรื่อง AEC มากกว่ามิติความร่วมมืออื่นๆ ของอาเซียน


ที่มา:www.thai-aec.com/418

เดิมกำหนดเป้าหมายของอาเซียน


     


      เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558 
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน 
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วยง

ที่มา:http://flash-mini.com/asian

การเตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



   
    เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ ด้วย “รอบรู้เรื่องอาเซียน” ที่จะพาผู้อ่านเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ประชาคมอาเซียน” ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สมบูรณ์ด้วยเนื้อหาสาระที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา และพัฒนาการในแง่มุมต่างๆ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภาษา และการเมือง ของกลุ่มประเทศสมาชิก แนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างประชาคมอาเซียน และผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากความร่วมมือครั้งนี้ รวมถึงข้อมูลที่อื่นๆ ที่ควรต้องรู้ พร้อมด้วยแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อทบทวนความรู้ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

ที่มา:https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=26144

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเตรียมความพร้องของประเทศไทยสู้การเป็นประชาคมอาเซียน

      


      อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) โดย.๒ ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง(กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กระทรวง) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (กระทรวงการพัฒนา) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนงาน (Blueprint)สำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา ซึ่งผู้นำอาเซียนได้รับรองเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๔ ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี ๒๕๕๘ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก และผู้นำอาเซียนได้รับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียนในการประชุมสุดยอครั้งที่ ๑๗ ณ กรุงฮานอย ซึ่งระบุความเชื่อมโยงใน ๓ รูปแบบ ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านกายภาพ อาทิ การพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคมความเชื่อมโยงด้านสถาบัน อาทิ การทำให้กฎระเบียบด้านการข้ามแดนต่างๆ มีความสอดคล้องกัน
ที่มา:http://www.m-culture.go.th/


ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน

    


      หลังจากที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลีประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2546 ได้รับรองวิสัยทัศน์อาเซียน 2020( Asean Visio n 2020) เพื่อมุ่งหน้าพัฒนาอาเซียนไปสู่ประชาคมอาเซียน (Asean Community) ให้เป็นผลสำเร็จในปี 2563 (ค.ศ. 2020) โดยกำหนดเป้าหมายว่าอาเซียนจะต้องเป็น 1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัตร 3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก 4)ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร และเห็นชอบให้มีการร่างกฎบัตรอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นธรรมนูญในการบริหารปกครองกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ผ่าน3 เสาหลักคือ 1) ด้านการเมืองให้จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ( Asean Political and Security Community- APSC) 2) ด้านเศรษฐกิจให้มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา:http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=category&id=144&Itemid=7

ประวัติความเป็นมาประชาคมอาเซียน

ประวัติความเป็นมาประชาคมอาเซียน



     
     เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

ที่มา:http://www.pmvc.ac.th/asean/History.html


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำทักทายของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ

คำทักทายของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ

1.ประเทศไทย 
 คำทักทาย – สวัสดี
2.ประเทศบรูไน
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการาบรูไนดารุสซาลาม
คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง  
\
3.ประเทศกัมพูชา หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “เขมร”
   คำทักทาย – ซัวสเด
4.ประเทศอินโดนีเซีย
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย 
คำทักทาย – ซาลามัต เซียง
5.ลาว เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเราที่สุด
ชื่อภาษาท้องถิ่น – สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
คำทักทาย – สะบายดี 

6.มาเลเซีย ทางใต้ของเรา เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิม ชุดประจำชาติก็จะคล้ายๆชุดมุสลิมครับ
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต ดาตัง 
7.พม่า เพื่อนบ้านทีน่ารักของเราอีกประเทศ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
คำทักทาย – มิงกาลาบา
8.ฟิลิปปินส์ เกาะทางตะวันออกของอาเซียน แต่วัฒนธรรมและศาสนาค่อนข้างต่างกับในเอเชีย จนเคยมีนักเดินเรือชาวอังกฤษตั้งคำขวัญว่า
“ประเทศฟิลิปินส์เป็นส่วนนึงของละตินอเมริกาที่โดนคลื่นพัดมาทางเอเชีย”
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
คำทักทาย – กูมุสตา
\
9.สิงคโปร์ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน – ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
คำทักทาย – หนีห่าว
10.ประเทศเวียดนาม
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
คำทักทาย – ซินจ่าว

ที่มา : https://muaypattaraporn.wordpress.com/

ธงชาติอาเซียน

ธงชาติอาเซียน
       มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

     สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
     สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
     สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
     สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/75319

กฎบัตรอาเซียน

   

          กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

       ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

ที่มา : http://www.thai-aec.com/

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของอาเซียน





ความเป็นมาของอาเซียน

              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ

ที่มา:http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm







ประชาคมอาเซียน

         การเข้าสู่ "ประชาคมอาเซียน" ในปี 2558  มีความหมายมากกว่าการเตรียมตัวเข้าสู่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ที่เมื่อลงมือทำแล้วก็ถือว่าจบ หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะมีผลต่อเนื่องไปในอนาคต ทั้งในด้านวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมการทำงาน สังคม การใช้ชีวิต และการศึกษาของคนไทย ซึ่งก็ถือว่าเป็นพลเมืองอาเซียนด้วยเช่นกัน เพราะสมาชิกทั้ง 10 ประเทศมีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการเปิดเสรีการบริการ ว่าด้วยการผ่อนปรนในบางเรื่อง และหนึ่งในนั้นได้รวมเรื่องการศึกษาและการประกอบอาชีพเข้าไว้ด้วย
          ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม โดยที่การขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคในทุกมิตินี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกหลัก ถือเป็นหลักการที่สำคัญ
          คุณจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสาคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือในอาเซียนเพื่อพัฒนาการศึกษาทุกระดับให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดจัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเยาวชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างกระแสความตื่นตัวของเด็กและเยาวชนต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น 

ที่มา:http://www.kruthai.info/view.php?article_id=1749

การเป็นประชาคมอาเซียน




อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558 
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558



ที่มา:http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm

ความร่วมมือของอาเซียน


   อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
 เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง 
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ 
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน 
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

ที่มา: http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/index.html











Asean Economics Community

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กำเนิดประชาคมอาเซียน (ASEAN community)

กำเนิดอาเซียน


              อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

             ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

            วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

ที่มา : Office of the Non-Formal and Informal Education (ONIE)

Welcome

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกี่ยวกับประเทศในอาเซียนของเราค่ะ บล็อกแห่งนี้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน การกำเนิดอาเซียน รวมทั้งจุดประสงค์ของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อเป้นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน  อีกทั้งได้รวบรวมรูปภาพสวยๆ แหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่ในประเทศอาเซียนค่ะ  ขอเชิญรับชมค่ะ